เมนู

การงาน คือควรประกอบในการงาน. จริงอยู่ จิตที่อ่อน ย่อมเป็นของควร
แก่การงาน ดุจทองคำที่ไล่มลทินออกดีแล้ว ฉะนั้น. ก็จิตแม้ทั้ง 2 (คือจิตอ่อน
และจิตที่ควรแก่การงาน) นั้นจะมีได้ ก็เพราะเป็นจิตที่ได้รับอบรมดีแล้วนั่นแล
เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรายังไม่
เล็งเห็นแม้ธรรมอย่างหนึ่งอื่น ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นของอ่อน
และควรแก่การงานเหมือนจิตนี้เลย นะภิกษุทั้งหลาย* !
ชื่อว่า ตั้งมั่นแล้ว เพราะตั้งอยู่ในธรรมทั้งหลายมีความบริสุทธิ์เป็นต้น
เหล่านั้น ชื่อว่าถึงความไม่หวั่นไหว เพราะความเป็นจิตตั้งมั่นนั่นเอง มีอธิบาย
ว่า เป็นจิตไม่หวั่นไหว คือหมดความหวั่นไหว. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ตั้งมั่นแล้ว
เพราะความเป็นจิตตั้งอยู่แล้วในอำนาจของตน โดยความเป็นจิตอ่อนและควร
แก่การงาน. ชื่อว่า ถึงความไม่หวั่นไหว เพราะความเป็นจิตอันธรรมทั้งหลาย
มีศรัทธาเป็นต้น ประคองไว้แล้ว.

[จิตประกอบด้วยธรรม 6 อย่าง เป็นจิตไม่หวั่นไหว]


จริงอยู่ จิตอันศรัทธาประคองไว้แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะอสัท-
ธิยะ ( ความไม่มีศรัทธา) อันวิริยะประคองไว้แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะ
โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) อันสติประคองไว้แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะ
ความประมาท (ความเลินเล่อ) อันสมาธิประคองไว้แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว
เพราะอุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) อันปัญญาประคองไว้แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว
เพราะอวิชชา (ความไม่รู้) ที่ถึงความสว่าง ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะความมืด
คือกิเลส จิตอันธรรม 6 อย่างเหล่านี้ประคองไว้แล้ว เป็นจิตถึงความไม่-
หวั่นไหว. จิตที่ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ ดังพรรณนามาแล้วนี้ ย่อมเป็น
* องฺ. เอก. 20 / 11.

ของควรแก่อภินิหาร เพื่อการทำให้แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควร
ทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
แม้อีกนัยหนึ่ง เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิในจตุตถฌาน ชื่อว่าเป็น
จิตบริสุทธิ์ เพราะเป็นจิตไกลจากนิวรณ์, ชื่อว่าผุดผ่อง เพราะก้าวล่วงองค์ฌาน
มีวิตกเป็นต้น, ชื่อว่าไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน เพราะไม่มีความประพฤติต่ำ
ด้วยความปรารถนาอันลามก ซึ่งเป็นข้าศึกต่อการกลับได้ฌาน1, อธิบายว่า
ชื่อว่าไม่มีปัจจัยแห่งกามราคะมีประการต่าง ๆ อันหยั่งลงแล้ว คือเป็นไปแล้ว
ด้วยอำนาจความปรารถนา. ชื่อว่า มีอุปกิเลสปราศไปแล้ว เพราะความ
ปราศไปแห่งความเศร้าหมองของจิต มีอภิชฌาเป็นต้น. ก็แม้ธรรมทั้ง 2
(คือความไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน และมีกิเลสปราศไป) นั้น บัณฑิตพึงทราบ
ตามแนวแห่งอนังคณสูตรและวัตถุสูตร2.
ชื่อว่า เป็นจิตอ่อน เพราะถึงความชำนาญ. ชื่อว่า ควรแก่การงาน
เพราะเข้าถึงความเป็นบาทแห่งฤทธิ์. ชื่อว่า ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
เพราะข้าถึงความเป็นธรรมชาติประณีต ด้วยความเต็มบริบูรณ์แห่งภาวนา,
อธิบายว่า จิตย่อมถึงความไม่หวั่นไหว ฉันใด, ตั้งมั่นแล้ว ฉันนั้น. จิตที่
ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ แม้ดังพรรณนามาแล้วนี้ ย่อมเป็นของควรแก่
อภินิหาร เป็นบาท เป็นปทัฏฐาน แห่งการทำให้แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรม
ทั้งหลายที่ควรทำให้แจ้งด้วยอภิญญา ด้วยประการฉะนี้.
1. วิสุทธิมรรค. 2 / 203 เป็น ฌานปฏิลาภปจฺจนีกานํ เห็นว่าถูก จึงแปลตามนั้น.
2. ม. มู. 12 / 42-64.

บทว่า ปพฺเพนิวาสานุสฺสติญฺญาณาย ความว่า เมื่อจิตนั่นอัน
เป็นบาทแห่งอภิญญา เกิดแล้วอย่างนั้น, (เราได้น้อมจิตไป) เพื่อประโยชน์
แก่บุพเพนิวาสานุสติญาณนั้น.

[อรรถาธิบายวิเคราะห์ ปุพเพนิวาสศัพท์]


ในบรรดาบทว่า ปุพเพนิวาสา เป็นต้นนี้ พึงทราบวิเคราะห์ศัพท์
ดังนี้ :-
ขันธ์ที่คนเคยอยู่แล้วในกาลก่อน คือในอดีตชาติ ชื่อว่า ปุพเพนิวาส
(ขันธ์ที่ตนเคยอยู่แล้วในกาลก่อน).
ขันธ์ที่ตนเคยอยู่ทับแล้ว คือที่ตนตามเสวยแล้ว ได้แก่ ที่เกิดขึ้นใน
สันดานของตนแล้วดับไป หรือธรรมที่ตนเคยอยู่แล้ว ชื่อว่า นิวุฏฺฐา
(ขันธ์หรือธรรมที่ตนเคยอยู่ทับแล้ว).
ธรรมทั้งหลายที่ตนเคยอยู่ ด้วยการอยู่โดยความเป็นโคจร คือที่ตน
รู้แจ้ง ได้แก่ที่ตนกำหนดแล้ว ด้วยวิญญาณของตน หรือแม้ที่ตนรู้แจ้งแล้ว
ด้วยวิญญาณของผู้อื่น ในญาณทั้งหลายมีการตามระลึกถึงสังสารวัฏที่ตนตัดได้
ขาดแล้ว ชื่อว่า นิวฏฺฐา.
พระโยคาวจรย่อมตามระลึกได้ถึงขันธ์ ที่ตนเคยอยู่ในกาลก่อนด้วย
สติใด,* สตินั้นชื่อว่า บุพเพนิวาสานุสติ ในคำว่า ปุพเพนิวาสานุสสติ นี้ .
ญาณที่สัมปยุตด้วยสตินั้น ชื่อว่า ญาณ. เพื่อประโยชน์แก่บุพเพ-
นิวาสานุสติญาณนี้, มีคำอธิบายว่า (เราได้น้อมจิตไป) เพื่อบุพเพนิวาสา-
นุสติญาณ คือเพื่อบรรลุ ได้แก่เพื่อถึงญาณนั้น ด้วยประการฉะนี้.
* วิสุทธิมรรค. 2 / 21.